เมนู

พระคาถาสุดท้ายมีเนื้อความว่า ภิกษุเดินตามทาง คือดำเนินตาม
ทางเดินของผู้ใดที่ปฏิบัติชอบแล้ว ได้แก่ปฏิบัติโดยชอบแล้ว จะพึงถึงความ
สิ้นไป คือความสิ้นสุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ด้วยการประกอบ ด้วยคุณความดี
มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตคือ ผู้มีปัญญาควรทำผู้เช่นนั้น
คือพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า ให้เป็นมิตรของตน คือทำความ
สนิทสนมกับท่าน และควรคบหาสมาคม คือควรเข้าไปนั่งใกล้ท่านนั่นเอง.
จบอรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ 10

เป็นอันว่าในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ 6
และที่ 7 และตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในสูตรทั้งหลาย นอกจากนี้.
จบวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. วิตักกสูตร 2. สักการสูตร 3. สัททสูตร 4. จวมานสูตร
5. โลกสูตร 6. อสุภสูตร 7. ธรรมสูตร 8. อันธการสูตร 9. มลสูตร
10. เทวทัตตสูตร และอรรถกถา.

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ 5


1. ปสาทสูตร


ว่าด้วยความเลื่อมใส 3 ประการ


[270] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-
สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ 3 ประการนี้
3 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี มี 2 เท้าก็ดี
มี 4 เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า
บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์ประมาณเท่านั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใส
ในบุคคลผู้เลิศ ก็และผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณ
เท่าใด วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความระหาย
ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรม
อันเลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์
8 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ